:
ยินดีต้อนรับเข้าสู่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ : 0-5347-3010 อีเมล์ : maenawang@gmail.com

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไป

 

1. ด้านกายภาพ
       ตำบลแม่นาวาง เดิมอยู่ในการปกครองของอำเภอฝาง มีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขวางรวมตำบลบ้านหลวงและตำบลสันต้นหมื้อในปัจจุบันเข้าด้วยกัน ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตปกครองของอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ตามตำนานเล่าว่าเป็นการรวมตัวจากการอพยพของชาวบ้านอำเภอพร้าว, อำเภอแม่ริม, อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอป่าซาง, อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โดยการนำของพ่อพญาสิทธิ มาตั้งรกรากและทำการเกษตรโดยเรียกชื่อตามลำน้ำแม่นาวางซึ่งเป็นลำน้ำที่ไหลผ่านภายในตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง ได้จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย มาตรา 40 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539  เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ประเภทสามัญ 
     

คำขวัญประจำตำบล 

"พระธาตุสบฝางเด่นเป็นสง่า ปวงประชาล้วนนานาเผ่า

แหล่งปลูกข้าวแสนอุดม ส้มสายน้ำผึ้งรสชาติดี

อ่างห้วยจันสี ธ ประธาน สาวน้อยหน้าหวาน ชาวบ้านเป็นสุข"

 

     1.1 ที่ตั้ง
           องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง ตั้งอยู่เลขที่ 77 หมู่ 9 ตำบลแม่นาวาง อำเภอ แม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวอำเภอแม่อาย ห่างจากที่ว่าการอำเภอ แม่อาย ประมาณ 12 กิโลเมตร (เส้นทางถนนอำเภอแม่อาย – ท่าตอน เข้าทางแยกบ้านสันโค้ง สู่ตำบล แม่นาวาง) และห่างจากที่ทำการอำเภอฝาง ประมาณ 20 กิโลเมตร (เส้นทางจากแยกอำเภอฝาง ผ่านตำบลเวียงฝาง และตำบลสันต้นหมื้อสู่ตำบลแม่นาวาง) ห่างจากตัวอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่มาทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอแม่ริม ,  อำเภอแม่แตง , อำเภอเชียงดาว , อำเภอไชยปราการ  , อำเภอฝาง  ตามทางหลวงหมายเลข  107   ประมาณ  185  กิโลเมตร
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง มีเนื้อที่ 184.70 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 115,390 ไร่ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

         ทิศเหนือ ติดกับเทศบาลตำบลแม่อาย และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

         ทิศใต้ ติดกับองค์การบริหารส่วนตำบลสันต้นหมื้อ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง

         ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอแม่สรวย และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

         ทิศตะวันตก ติดกับเทศบาลตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

     1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
         เป็นที่ราบสูง และภูเขา ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร มีชาวเขาอาศัยอยู่ ได้แก่ ชาวเขาเผ่ามูเซอ ลีซอ กระเหรี่ยง ปะหล่อง ไต ส่วนพื้นราบเป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับเกษตรกรรม เช่น ข้าว พริก กระเทียม ส้มเขียวหวาน ถั่ว มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย ฯลฯ และเป็นพื้นที่อาศัยของชาวไทยพื้นราบ

     1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
           อุณหภูมิทั่วไปเฉลี่ย ประมาณ 24 องศาเซลเซียส อากาศเย็นสบาย ในฤดูหนาวจะหนาวจัด มีหมอกปกคลุม พื้นที่อุณหภูมิเคยต่ำสุดถึง ๘ องศาเซลเซียส ในช่วงปลายเดือนธันวาคม ในฤดูร้อนอุณหภูมิสูงสุด ๓๔ องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนเมษายน ในฤดูฝนปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200-1,400 มม. ต่อปี

     1.4 ลักษณะของดิน
          ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวและดินร่วนปนทราย ที่เหมาะสำหรับการทำเกษตร

     1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ  1) แม่น้ำสายหลัก 2 สาย ได้แก่  แม่น้ำฝาง และแม่น้ำกก

                      2) ลำห้วย 5 สาย ได้แก่
                          1. ลำห้วยหลวง
                          2. ลำห้วยจันสี
                          3. ลำห้วยแม่เมืองน้อย
                          4. ลำห้วยฮ่องห้า
                          5. ลำห้วยฮ่องถ่อน

                      3) ลำเหมืองขุด 20 สาย
                      4) อ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง 
                           1. อ่างเก็บน้ำห้วยม่วง
                           2. อ่างเก็บน้ำห้วยจันสี
                           3. อ่างเก็บน้ำฮ่องถ่อน

                      5) ฝาย 6 แห่ง ได้แก่
                           1. ฝายลูกที่ 2 บ้านฮ่องห้าหลวง หมู่ที่ 5
                           2. ฝายลูกที่ 4 บ้านห้วยม่วง หมู่ที่ 8
                           3. ฝายลูกที่ 8 บ้านห้วยม่วง หมู่ที่ 8
                           4. ฝายลูกที่ 11 บ้านฮ่องถ่อนพัฒนา หมู่ที่ 10
                           5. ฝายน้อยสุย หมู่ที่ 11
                           6. ฝายลำห้วยขี้ติ้ว หมู่ที่ 16

     1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
        สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ สภาพป่ามีความสมบูรณ์ ไม้มีค่ามีลักษณะสมบูรณ์ เช่น ประดู่  ไม้สัก จำปี จำปา การแพร่พันธุ์เป็นไปตามธรรมชาติ

 

2. ด้านการเมือง/การปกครอง
     2.1 เขตการปกครอง  ตำบลแม่นาวาง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 หมู่บ้าน  ประกอบด้วย

หมู่ที่ 1 บ้านคายนอก             

หมู่ที่ 2 บ้านคายใน             

หมู่ที่ 3 บ้านหนองขี้นกยาง         

หมู่ที่ 4 บ้านฮ่างต่ำ         

หมู่ที่ 5 บ้านฮ่องห้าหลวง       

หมู่ที่ 6 บ้านแม่สลัก             

หมู่ที่ 7 บ้านห้วยคอกหมู           

หมู่ที่ 8 บ้านห้วยม่วง                 

หมู่ที่ 9 บ้านเด่นชัย             

หมู่ที่ 10 บ้านฮ่องถ่อนพัฒนา   

หมู่ที่ 11 บ้านท่าปู               

หมู่ที่ 12 บ้านเทพมงคล   

หมู่ที่ 13 บ้านห้วยหลวงพัฒนา   

หมู่ที่ 14 บ้านแม่เมืองน้อย     

หมู่ที่ 15 บ้านคายนอกพัฒนา   

หมู่ที่ 16 บ้านจอเจริญ         

หมู่ที่ 17 บ้านใหม่ร่องไคร้

โดยมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง ดังนี้

หมู่ที่ 1 นายภานุพงศ์ กุมาร 

หมู่ที่ 2 นายกมล  อินต๊ะลอ (ประธานสภา อบต.แม่นาวาง) 

หมู่ที่ 3 นายพิสันต์ เจนแสง

หมู่ที่ 4 นายมนตรี เทพวงค์

หมู่ที่ 5 นายปรเมศวร์ จะก่า

หมู่ที่ 6 นายดุสิต ลัภย์โภคาสกุล

หมู่ที่ 7 นายดะวิ จะที

หมู่ที่ 8 นายผล ตั๋นวงค์ (รองประธานสภา อบต.แม่นาวาง)

หมู่ที่ 9 นายประสิทธิ์ โชคสร้าง

หมู่ที่ 10 นายวีระวัฒน์ บุญอินถา

หมู่ที่ 11 นายจักกฤษ จะบ่อ

หมู่ที่ 12 นายสอน ต่อมแก้ว

หมู่ที่ 13 นางมาลีแอ๊ด ลิโป้

หมู่ที่ 14 นางอรพินท์ คู

หมู่ที่ 15 ว่าที่ร้อยตรีชเนรินทร์ อินทร

หมู่ที่ 16 นางเสาวลักษณ์ ทรายคำ

หมู่ที่ 17 นางวิภาดา อาภา

 

3. ประชากร

3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
          ประชากร ทั้งสิ้น    15,154 คน     แยกเป็น ชาย 7,647 คน     หญิง 7,507 คน
     ข้อมูลประชากรตำบลแม่นาวาง   (ข้อมูล  ณ  วันที่ 30 กันยายน 2565)
    

ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนราษฎร์อำเภอแม่อาย

หมู่ที่

จำนวน

หลังคาเรือน

จำนวนประชากร

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม (คน)

1

647

270

321

591

2

307

404

396

800

3

243

233

218

451

4

311

331

322

  653

5

873

944

940

1,884

6

549

591

560

 1,151

7

510

967

890

  1,857

8

248

381

354

735

9

250

259

267

526

10

224

252

245

497

11

240

485

444

929

12

116

167

178

345

13

465

1,007

1,019

2,026

14

336

506

477

983

15

195

244

271

515

16

169

263

278

541

17

228

343

327

670

รวม

       5,911

       7,647

         7,507

        15,154

 

4. สภาพทางสังคม
     4.1 การศึกษา

1) โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน  8  แห่ง
     1. โรงเรียนบ้านหนองขี้นกยาง หมู่ที่ 3
     2. โรงเรียนบ้านฮ่างต่ำ หมู่ที่ 4
     3. โรงเรียนศึกษานารีอนุสรณ์ 1 หมู่ที่ 14
     4. โรงเรียนศึกษานารีอนุสรณ์ 2 หมู่ที่ 6
     5. โรงเรียนบ้านห้วยม่วง หมู่ที่ 8
     6. โรงเรียนประพันธ์-อารีย์ หงษ์สกุล หมู่ที่ 13
     7. โรงเรียนชุมชนบ้านคาย หมู่ที่ 4

     8. โรงเรียนบ้านห้วยคอกหมู หมู่ที่ 7 

2) โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
     1. โรงเรียนชุมชนบ้านคาย หมู่ที่ 1
     2. โรงเรียนบ้านห้วยคอกหมู หมู่ที่ 7
  

3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 13 แห่ง
     1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฮ่องห้าหลวง หมู่ที่ 12
     2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่สลัก หมู่ที่ 6
     3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองขี้นกยาง หมู่ที่ 3
     4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ อบต.แม่นาวาง หมู่ที่ 9
     5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยหลวง หมู่ที่ 13
     6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้วยจันสี หมู่ที่ 13
     7. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยม่วงนอก หมู่ที่ 8
     8. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสีลาอาสน์ หมู่ที่ 15
     9. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยป่ากล้วย หมู่ที่ 11
     10. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฮ่องถ่อนพัฒนา หมู่ที่ 10
     11. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคาย หมู่ที่ 1
     12. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันเจริญ หมู่ที่ 14
     13. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่เมืองน้อยใน หมู่ที่ 7
   

4) ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 1 แห่ง

5) ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 17 แห่ง

       ประชาชนส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา และมีฐานะปานกลางสามารถส่งบุตรหลานศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา, อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาได้

       ประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษา ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย เฉลี่ยร้อยละ58.0 มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า เฉลี่ย ร้อยละ 22.7 ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า เฉลี่ย ร้อยละ 9.8 ระดับปริญญาตรี เฉลี่ย ร้อยละ 8.1 สูงกว่าปริญญาตรี เฉลี่ย ร้อยละ 1.4

     4.2 สาธารณสุข
1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแม่เมืองน้อย
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคาย
2) ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 3 แห่ง
- ศูนย์สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 17 แห่ง
- ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน 24 แห่ง

     4.3 การสังคมสงเคราะห์
         องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง มีผู้สูงอายุ จำนวน 2,291 คน ผู้พิการ จำนวน 377 คน ผู้ป่วยพิเศษ จำนวน 81 คน ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2565 (งานพัฒนาชุมชน)

 

5. ระบบบริการพื้นฐาน

     5.1 การคมนาคมขนส่ง
        การคมนาคมภายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง
มีถนนสายหลัก จำนวน 8 สาย มีรายละเอียดดังนี้

 

ลำดับที่

ชื่อถนน

หมู่ที่

ความกว้าง (เมตร)

ความยาว(เมตร)

ลักษณะผิวจราจร

1.

ถนนสายฝาง-แม่สะลัก

12-6

6

26,000

คอนกรีตเสริมเหล็ก

2.

ถนนฮ่องห้าหลวง-บ้านสันห้าง

5

4

10,000

ดินลูกรัง

3.

ถนนบ้านคาย-ห้วยหลวง

2-13

4

4,000

คสล+ดินลูกรัง

4.

ถนนบ้านคายใน-สันโค้ง

2

6

2,000

แอสฟัลต์ติก

5.

ถนนบ้านคาย-ห้วยจันสี

1-13

4

5,000

คสล.+ลูกรัง

6.

ถนนบ้านห้วยม่วง-ห้วยเหี้ยะ

8

4

3,000

ดินลูกรัง

7.

ถนนแม่เมืองน้อย-ท่าตอน

14

6

800

แอสฟัลต์ติก

8.

บ้านใหม่ร่องไคร้-แม่เมืองน้อยใน

17-7

4

5,000

คสล.+แอสฟัลต์ติก

 

สะพาน มีรายละเอียดดังนี้
1. สะพานคอนกรีต หมู่ที่ 8 จำนวน 1 แห่ง
2. สะพานคอนกรีต หมู่ที่ 2 จำนวน 2 แห่ง
3. สะพานคอนกรีต หมู่ที่ 16 จำนวน 2 แห่ง
4. สะพานคอนกรีต หมู่ที่ 13 จำนวน 1 แห่ง
5. สะพานคอนกรีต หมู่ที่ 14 จำนวน 1 แห่ง

     5.2 การไฟฟ้า
       - อัตราการใช้ไฟฟ้าของหมู่บ้าน คิดเป็นอัตรา ร้อยละ 100 โดยใช้บริการจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีไฟฟ้าใช้ทั้ง ๑๗ หมู่บ้าน
       - องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง ได้ขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะเพื่อให้บริการประชาชนตามถนนสายหลักและถนนสายรองต่าง ๆ

 

     5.3 การประปา

1) ประปาหมู่บ้าน 9 แห่ง ได้แก่
     1. ประปาบ้านหนองบัวงาม หมู่ที่ 3
     2. ประปาบ้านฮ่างต่ำ หมูที่ 4
     3. ประปาบ้านห้วยม่วง หมูที่ 8
     4. ประปาบ้านเด่นชัย หมูที่ 9
     5. ประปาบ้านฮ่องถ่อน หมูที่ 10
     6. ประปาบ้านเทพมงคล หมูที่ 12
     7. ประปาบ้านสันเจริญ หมู่ที่ 14
     8. ประปาบ้านป็อกป่ายาง หมูที่ 14
     9. ประปาบ้านใหม่ร่องไคร้ หมูที่ 17

2) ประปาภูเขา 17 แห่ง ได้แก่
     1. ประปาภูเขาบ้านห้วยม่วงนอก หมู่ที่ 5
     2. ประปาภูเขาบ้านห้วยม่วงใน หมู่ที่ 5
     3. ประปาภูเขาบ้านวังดินนอก หมู่ที่ 6
     4. ประปาภูเขาบ้านวังดินใน หมูที่ 6
     5. ประปาภูเขาบ้านอาข่า หมูที่ 6
     6. ประปาภูเขาบ้านแม่สลัก หมูที่ 6
     7. ประปาภูเขาบ้านห้วยส้าน หมูที่ 6
     8. ประปาภูเขาบ้านห้วยคอกหมู หมูที่ 7
     9. ประปาภูเขาบ้านห้วยมะราง หมู่ที่ 7
    10. ประปาภูเขาบ้านแม่เมืองน้อยใน หมูที่ 7
    11. ประปาภูเขาบ้านท่าปู หมูที่ 11
    12. ประปาภูเขาบ้านห้วยป่ากล้วย หมูที่ 11
    13. ประปาภูเขาบ้านห้วยหวาย หมูที่ 11
    14. ประปาภูเขาบ้านห้วยหลวง หมูที่ 13
    15. ประปาภูเขาบ้านห้วยจันสี หมูที่ 13
    16. ประปาภูเขาบ้านห้วยทรายขาว หมูที่ 13
    17. ประปาภูเขาบ้านกิ่วตอก หมูที่ 13

3) บ่อน้ำตื้น 1,400 บ่อ

4) บ่อน้ำบาดาล 24 แห่ง
ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาภูเขาขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง

     5.4 โทรศัพท์
          ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่

     5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
       ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์แม่อาย ตั้งอยู่ ตำบลมะลิกา อำเภอ แม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตำบลแม่นาวาง ไปทางทิศเหนือประมาณ 8 กิโลเมตร

 

6.ระบบเศรษฐกิจ

     6.1 การเกษตร
        ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้าง และค้าขาย
- ปลูกข้าว จำนวนพื้นที่ 11,021 ไร่
- ปลูกข้าวโพด จำนวนพื้นที่ 8,059 ไร่
- ปลูกลิ้นจี่ จำนวนพื้นที่ 327 ไร่
- ปลูกพริก จำนวนพื้นที่ 665 ไร่
- ปลูกมะม่วง จำนวนพื้นที่ 630 ไร่
- ปลูกยางพารา จำนวนพื้นที่ 710 ไร่
- ปลูกส้ม จำนวนพื้นที่ 2,739 ไร่
- ปลูกกระเทียม จำนวนพื้นที่ 1,056 ไร่
- ปลูกเสาวรส จำนวนพื้นที่ 20 ไร่
- ปลูกมันสัมปะหลัง จำนวนพื้นที่ 4,553 ไร่
- ปลูกลำไย จำนวนพื้นที่ 307 ไร่

     6.2 การประมง
          ตำบลแม่นาวาง มีประชาชนทำการเลี้ยงปลา และกบ บางหมู่บ้าน

     6.3 การปศุสัตว์
         ตำบลแม่นาวาง มีการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค กระบือ สุกร และการเลี้ยงไก่สามสายพันธ์ ในทุกหมู่บ้าน

     6.4 การบริการ
- ปั๊มน้ำมัน 15 แห่ง (ขนาดเล็ก)
- โรงสีข้าว 15 แห่ง (ขนาดเล็ก)
- ร้านค้า 30 แห่ง
- ร้านรับซ่อมยานยนต์ 11 แห่ง
- ร้านรับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4 แห่ง
- ตลาดสด 3 แห่ง

     6.5 การท่องเที่ยว
          วัดพระธาตุแสงรุ้ง วัดพระธาตุสบฝาง น้ำตกแม่เมืองน้อย อ่างเก็บน้ำห้วยจันสี

     6.6 อุตสาหกรรม

- โรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง
- อุตสาหกรรมในครัวเรือน 105 ครอบครัว

    6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- ธนาคาร ๒ แห่ง
- กลุ่มอาชีพ 12 กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ 1๗ กลุ่ม
- กลุ่มอื่น ๆ 8 กลุ่ม

    6.8 แรงงาน
       องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง มีพื้นที่เกษตรกรรม ดังนั้น พื้นฐานทางเศรษฐกิจชุมชนจึงขึ้นอยู่กับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การค้าขาย และการเป็นแรงงานตามโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเกษตรเป็นแหล่งผลผลิตทางการเกษตรหลากหลาย อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าว, ข้าวโพด, ลิ้นจี่ , พริก และมะม่วง อาชีพรอง คือ ค้าขาย รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม และการเลี้ยงสัตว์

 

7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

     7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
       จำนวนประชากรชาย 7,329 คน
       จำนวนประชากรหญิง 7,111 คน
       จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 4,002 ครัวเรือน
       พื้นที่ 59,334 ไร่

 

8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

     8.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
1) วัด จำนวน 12 แห่ง
     1. วัดศรีลาอาสน์ หมู่ที่ 1
     2. วัดธัมมิกาวาส หมู่ที่ 2
     3. วัดหนองบัวงาม หมู่ที่ 3
     4. วัดชัยมงคล หมู่ที่ 4
     5. วัดร่องห้า หมู่ที่ 5
     6. วัดห้วยม่วง หมู่ที่ 8
     7. วัดดอยแสงธรรม หมู่ที่ 8
     8. วัดเด่นชัย หมู่ที่ 9
     9. วัดพระธาตุแสงรุ้ง หมู่ที่ 14
     10. วัดพระธาตุสบฝาง หมู่ที่ 14
     11. วัดวังไฮ หมู่ที่ 14
     12. วัดจำปาขาว หมู่ที่ 17

2) สำนักสงฆ์ จำนวน 5 แห่ง
     1. สำนักสงฆ์บ้านแม่สะลัก หมู่ที่ 6
     2. สำนักสงฆ์บ้านห้วยป่ากล้วย หมู่ที่ 11
     3. สำนักสงฆ์บ้านห้วยหวาย หมู่ที่ 11
     4. สำนักแม่เมืองน้อย หมู่ที่ 14
     5. สำนักสงฆ์เวฬุวัน หมู่ที่ 14

3) โบสถ์ จำนวน 16 แห่ง
     1. คริสตจักรห้วยจันสี หมู่ที่ 1
     2. คริสตจักรห้วยทรายขาว หมู่ที่ 1
     3. คริสตจักรกิ่วตอก หมูที่ 1
     4. คริสตจักรห้วยม่วงใน หมู่ที่ 5
     5. คริสตจักรวังดิน (6 แห่ง) หมู่ที่ 6
     6. คริสตจักรห้วยคอกหมู หมู่ที่ 7
     7. คริสตจักรสันต้นปีน หมู่ที่ 8
     8. คริสตจักรห้วยหลวง (4 แห่ง) หมู่ที่ 13

     8.2 ประเพณีและงานประจำปี
        ช่วงเดือนเมษายน งานแห่พระและสรงน้ำผู้สูงอายุ เวียนกันเป็นเจ้าภาพทุกหมู่บ้าน
กันยายน – ตุลาคม งานวันสารทไทย (งานสลากภัต) เวียนกันเป็นเจ้าภาพทุกหมู่บ้าน

     8.3 ภาษาถิ่น
        ภาษาถิ่น คือ ภาษาเมืองล้านนา ภาษาอาข่า ภาษาลาหู่ ภาษายอง

 

9. ทรัพยากรธรรมชาติ

     9.1 น้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
1) แม่น้ำสายหลัก 2 สาย ได้แก่
    1. แม่น้ำฝาง
    2. แม่น้ำกก

2) ลำห้วย 5 สาย ได้แก่
    1. ลำห้วยหลวง
    2. ลำห้วยจันสี
    3. ลำห้วยแม่เมืองน้อย
    4. ลำห้วยฮ่องห้า
    5. ลำห้วยฮ่องถ่อน

3) ลำเหมือง 20 สาย

     9.2 ป่าไม้
      สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ สภาพป่ามีความสมบูรณ์ ไม้มีค่ามีลักษณะสมบูรณ์ เช่น ประดู่ จำปี จำปา การแพร่พันธุ์เป็นไปตามธรรมชาติ

     9.3 ภูเขา
         ในพื้นที่เป็นที่ราบระหว่างภูเขา

     9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
         ป่าไม้ และแหล่งน้ำ ยังไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการถูกทำลาย

 

10. อื่น ๆ 
  กลุ่มมวลชนต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้น
1) ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น 315 คน
2) ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น 75 คน
3) กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ 1 รุ่น 137 คน
4) กรรมการพัฒนาหมู่บ้าน 17 หมู่บ้าน 105 คน
5) อาสาสมัครสาธารณสุขฯ (อสม.) 1 กลุ่ม 286 คน
6) อาสาสมัครรักษาความสงบประจำหมู่บ้าน 1 ชุด 150 คน
7) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อพปร.) 151 คน
8) กลุ่มสตรีอาสาพัฒนาตำบลแม่นาวาง 377 คน